ความหมายของโครงสร้างของสังคม
(Social Structure)
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาภาษาอังกฤษ – ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า โครงสร้างสังคม หมายถึง
องค์ประกอบที่มีส่วนต่างๆ สัมพันธ์กันอย่างมีระเบียบ และดำรงอยู่ได้ถาวรตามสมควร
โครงสร้างของสังคม คือ ระบบความสัมพันธ์ของสถาบันต่างๆ ของสังคมในขณะใดขณะหนึ่ง
-มาร์วิน.อี.ออลเซน(Marvin E. Olsen) ได้อธิบายความหมายโครงสร้างของสังคม
ซึ่งสรุปได้ว่าโครงสร้างของสังคม คือ ลักษณะของส่วนประกอบต่างๆของสังคม
ซึ่งเป็นเสมือนการจำลองภาพนิ่งของระบบความสัมพันธ์ในสังคมมนุษย์ในขณะใดขณะหนึ่ง
เนื่องจากกระบวนการที่สมาชิกในสังคมมีการกระทำระหว่างกันเป็นสิ่งเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
-เจมส์ ดับเบิลยู. แวนเกอร์ ซานาเดน (James W. Vander
Zanden) กล่าวว่า โครงสร้างของสังคม หมายถึง
เค้าโครงของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมที่มีความเชื่อมโยงผูกพันระหว่างกัน
-ศาตราจารย์ ดร.ประสาท หลักศิลา
ได้เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างทางของสังคมมนุษย์ไว้เหมือนกับลักษณะโครงสร้างของบ้านแต่ละหลัง
>>สรุปได้ว่า โครงสร้างของสังคมคือ “ลักษณะความสัมพันธ์ต่อกันของกลุ่มต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นสังคมมนุษย์
ทำนองเดียวกันกับโครงสร้างของบ้าน”
>>สรุปได้ว่า โครงสร้างของสังคม หมายถึง
ส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์
ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุกๆสังคม
แม้ว่ามีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
ลักษณะของโครงสร้างสังคม
1.มีการรวมกลุ่มแต่ละกลุ่มต่างก็มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
มีประสิทธิภาพในการทำงาน
2.มีแนวปฏิบัติอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักประโยชน์สูงสุดของสังคม
3.มีจุดหมายในการทำกิจกรรมต่างๆ
ที่ดีและเหมาะสมที่จะใช้กับสังคมนั้นๆ เช่น การมีกิน
มีใช้การสนองความต้องการทางเพศ การต้องการความรู้
4.มีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น จำนวนคน รูปแบบความสัมพันธ์สภาพแวดล้อม
องค์ประกอบของโครงสร้างสังคม มี 2 ประการ
1.กลุ่มสังคม
(Social Groups)
2.สถาบันสังคม
(Social Institution)
กลุ่มสังคม กลุ่ม หมายถึง
บุคคลตั้งแต่ 2 คน หรือมากกว่านั้น
ซึ่งอาจมีการกระทำระหว่างกันทางสังคม การรวมกลุ่มของมนุษย์มีหลายลักษณะ
ในบางครั้งการรวมกลุ่มอาจเกิดขึ้นโดยชั่วคราว หรือโดยบังเอิญ
ในไม่ช้ากลุ่มคนดังกล่าวก็จะสลายไป เช่น กลุ่มคนที่มารวมกันที่ตลาด
กลุ่มคนที่มาชมการแสดงหรือชมภาพยนตร์ กลุ่มคนที่มารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์จากรัฐบาล
เป็นต้น เราไม่ถือว่า กลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มสังคม
เนื่องจากมีการรวมตัวกันอย่างไม่มีแบบแผนความสัมพันธ์ที่ชัดแจ้ง
ต่างฝ่ายต่างมารวมตัวกันโดยจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องต้องกันอย่างบังเอิญเท่านั้นและระยะเวลาของการรวมตัวมีจำกัด
จนไม่เพียงพอที่จะสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ที่ถาวรได้ อย่างไรก็ตาม
กลุ่มที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์มากที่สุด
โดยเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างของสังคม ได้แก่ กลุ่มสังคม
สังคมเล็กๆไปจนถึงสังคมใหญ่
กลุ่มสังคมต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เปรียบเหมือนสายใยของสังคมมนุษย์
ชนิดของกลุ่มสังคม
1.กลุ่มปฐมภูมิ (Primary group) กลุ่มขนาดเล็ก
สมาชิกมีความสนิทสนมกัน เป็นส่วนตัว
2.กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group) กลุ่มคนที่มีจำนวนมาก
สัมพันธภาพของสมาชิกเป็นไปตามแบบแผน
3.กลุ่มสมาคม (Task Oriented group) เป็นกลุ่มสมาชิกมารวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน
หรือแก้ปัญหาให้ลุล่วง
4.กลุ่มชุมชนชนบท และชุมชนเมือง (Rural and Urban group) กลุ่มชนบทเป็นกลุ่มที่มีชีวิตในชนบท มีอาชีพทางการเกษตร
ความเป็นอยู่ง่ายๆขึ้นอยู่
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง วิธีการที่คนในสังคมกำหนดขึ้นมาเพื่อให้คนที่มาอยู่รวมกันประพฤติปฎิบัติตาม รวมทั้งทำให้สังคมมีความมั่นคงและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย หรืออาจกล่าวได้ว่า การจัดระเบียบสังคมได้รับการสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางให้สมาชิกของสังคมได้ยึดถือปฎิบัติต่อกัน
องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม
องค์ประกอบการจัดระเบียบสังคมเป็นสิ่งที่คนในสังคมสร้างขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม ได้แก่
1. บรรทัดฐานทางสังคม เกิดขึ้นเนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกัน
ซึ่งโดยปกติมนุษย์มักจะทำอะไรตามใจตัวเอง ดังนั้น
สังคมจึงกำหนดกฎระเบียบแบบแผนขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกในสังคมได้ประพฤติปฎิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นในสังคม โดยสมารถแบ่งออกได้ สามประเภท คือ
1.1 วิธีชาวบ้านหรือวิถีประชา หมายถึงแนวทางการประพฤติปฎิบัติต่างๆ ที่กระทำอยู่เป็นประจำจนเกิดความเคยชิน
เช่น การกล่าวทักทาย แสดงความเคารพกับผู้ใหญ่
เป็นต้น
1.2 จารีต หมายถึง แนวทางการประพฤติปฎิบัติของสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวกับระบบศีลธรรมและสวัสดิภาพของสังคม ถ้าบุคคลใดละเมิดหรือไม่ปฎิบัติตามจะได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคม หรือถูกติเตียนอย่างรุนแรง
1.3 กฎหมาย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับของรัฐที่ตราขึ้น โดยมีผู้มีอำนาจรัฐหรือตราขึ้นจากเจตนารมณ์ของคนในรัฐ ถ้าใครไม่ปฎิบัติตามจะถูกลงโทษ เช่น ปรับ จำคุก
กักขัง ริบทรัพย์ ประหารชีวิต
2. สถานภาพ ในแต่ละสังคมที่เราพบเห็นนั้น เมื่อดูผิวเผินก็จะพบคนและกลุ่มคนมากมาย ซึ่งต่างก็มีการกระทำโต้ตอบกัน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมตามตำแหน่งและหน้าที่ที่สังคมกำหนดไว้
โดยสถานภาพแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
2.1 สถานภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิด
(Ascribed Status) เป็นสภาพที่ได้มาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด
หรือเป็นสถานภาพที่ไมาทางเงื่อนไขทางชีวภาพ เช่น สถานภาพทางวงศาดนาญาติ สถานภาพทางเพศ สถานภาพทางอายุ สถานภาพทางเชื้อชาติ สถานภาพทางถิ่นกำเนิด สถานภาพทางชนชั้นทางสังคม
2.2 สถานภาพที่ได้รับมาภายหลัง (Achieved
Status) เป็นสถานภาพที่บุคคลนั้นได้รับมาภายหลังจากการกระทำ แสวงหาหรือทำงานตามความสามารถของตน เช่น สถานภาพการสมรส สถานภาพทางการศึกษา สถานภาพทางอาชีพ สถานภาพทางการเมือง
3.บทบาท คือ การแสดงพฤติกรรม
หรือการกระทำตามสถานภาพที่สังคมกำหนด
สถานภาพและบทบาทจะมีความเกี่ยงข้องกันเมื่อพูดถึงสถานภาพก็จะพูดถึงบทบาทไปด้วย
อาจกล่าวได้ว่าบทบาท คือ ตำแหน่ง สิทธิ และ
หน้าที่ของบุคคลแต่ละคน
การขัดเกลาทางสังคม
1. ความมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม อาจแบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ
1)ปลูกฝังระเบียบวินัย
(Basic Discipline) ระเบียบวินัยเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กลุ่มได้กำหนดไว้
เป็นการฝึกให้มีความอดกลั้นที่จะทำตามความพอใจของตนเองเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า
เช่น เด็กไม่น้อยไม่ชอบเรียนหนังสือ
แต่ต้องพยายามเรียนเพราะพ่อแม่บังคับหรือเรียนเพราะอยากได้ความรู้ หรือเป็นทหารต้องฝึกอย่างหนักจะได้เป็นทหารที่มีสมรรถภาพ
สามารถป้องกันประเทศได้ดี เป็นต้น
2) ปลูกฝังความมุ่งหวัง (Aspiration) ความมุ่งหวังช่วยให้บุคคลมีกำลังใจทำตามระเบียบวินัยต่าง ๆ เช่น
อยากได้ปริญญา ก็ต้องเรียนหนังสือ อยากได้เลื่อนขั้นก็ต้องขยันทำงาน ส่วนมากมักจะมุ่งหวังในสิ่งที่สังคมยกย่องหรือถือว่าดีงาม
จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเรามีกำลังใจ
หรือบังคับตัวเองให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยไม่ว่าจะพอในหรือไม่ก็ตาม
เพื่อจะได้ในสิ่งที่ตนเองหวังไว้
3)สอนให้รู้จักบทบาทและทัศนคติต่าง ๆ (Social
Roles and Supporting Attitudes) เป็นการรู้จักแสดงบทบาทอย่างเหมาะสมตามวาระและโอกาสต่าง
ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะบทบาทของแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน
จึงควรที่จะเรียนรู้และทำตามบทบาทของตนให้ดีที่สุด
4)สอนให้มีทักษะ
(Skills) เป็นการเตรียมบุคคลให้มีความชำนาญเฉพาะอย่าง เช่น การประกอบอาหาร การเขียนจดหมาย
การใช้โทรศัพท์ การเป็นวิศวกร การเป็นแพทย์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง การสั่งอาหาร
เป็นต้น
2. ตัวแทนของการขัดเกลาทางสังคม มีอยู่ 6 กลุ่ม คือ
1)สถาบันครอบครัว
เป็นสถาบันพื้นฐานที่ขัดเกลามนุษย์ให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำหรืออะไรถูกอะไรผิด เป็นต้น
เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างลึกซึ้ง และมีอิทธิพลต่ออารมณ์
ทัศนคติ และความประพฤติของเด็กเป็นอย่างยิ่ง
2)กลุ่มเพื่อน
เป็นกลุ่มที่มีอายุระดับใกล้เคียงกันโดยอาจจะรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อนธรรมดาจนถึงชมรม
สมาคมที่ตนสนใจ เช่น เพื่อนร่วมชั้น ชมรมฟุตบอล เนตบอล สมาคมนักเรียนเก่า ฯลฯ
3)โรงเรียน
โรงเรียนเสมือนเป็นบ้านที่สองของเด็กในการที่จะได้รับความรู้ความคิดต่าง ๆ
และวิชาการต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ
โดยเฉพาะสังคมปัจจุบันโรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญในเรื่องการให้การขัดเกลาแก่เด็ด
ตลอดจนทำให้เด็กมีโอกาสพบปะสมาคมกันเพื่อนในวัย
4)กลุ่มอาชีพ
เป็นกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในสังคม
ซึ่งแต่ละกลุ่มอาชีพจะมีคุณค่าหรือระเบียบกฎเกณฑ์ไปตามอาชีพของตน เช่น
ครูต้องสอนลูกศิษย์ด้วยความเมตตา
นักสังคมสงเคราะห์ไม่เปิดเผยความลับของผู้มารับการสงเคราะห์
แพทย์รักษาคนไข้ด้วยจรรยาบรรณ ไม่เห็นแก่เงิน เป็นต้น
แต่ละอาชีพจึงมีบุคลิกภาพแตกต่างกันไป
5)ตัวแทนศาสนา
เป็นตัวแทนที่ขัดเกลาคนหรือแนะแนวทางให้คนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อเป็นเป้าหมายในการกระทำ
โดยเฉพาะศาสนาพุทธได้สอนให้คนเราไม่ตั้งอยู่ในความประมาท
เพราะหลายสิ่งในโลกไม่มีความแน่นอน จึงต้องยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม มีศีลธรรม
จริยธรรม และความประพฤติในทางที่ถูกที่ควร
6)สื่อมวลชน สื่อมวลชนเหล่านี้มีหลายประเภท เช่น วิทยุ
โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ นวนิยายวรรณคดี เป็นต้น
ซึ่งมีส่วนในการขัดเกลาทางสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ความคิด
ความเชื่อแบบของความประพฤติ เพราะสื่อมวลชนมีทั้งการให้ความรู้และความเพลิดเพลิน
โดยเฉพาะอิทธิพลของสื่อมวลชนที่สำคัญคือการให้ข่าวสาร
อิทธิพลของสื่อมวลชนนี้จะมีมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
ขึ้นอยู่กับภูมิหลังของครอบครัวว่าได้สอนลูกมาให้รู้จักเหตุและผล หรือขึ้นอยู่กับเจตคติของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ตนได้รับ
ลักษณะของสังคมไทย
1. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น
โดยยึดจากฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เป็นสังคมที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก
4. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์และระเบียบ
ขาดระเบียบวินัย
5. พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อความเชื่อและการดำเนินชีวิต
6. เป็นสังคมที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างสังคมเมืองและสังคมชนบท ลักษณะสังคมชนบท
1. ประชากรมีจำนวนมากอยู่อย่างกระจัดกระจาย
2. การศึกษาต่ำ ฐานะยากจน
3. มีรายได้น้อย และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
4. การปกครองส่วนภูมิภาค มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย
5. เป็นสังคมชาวพุทธ พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อและนับถือในโชคลาง
6. มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดส่วนตัว และเป็นกันเอง
ลักษณะสังคมเมือง
1. ประชากรมีจำนวนมากและอยู่อย่างหนาแน่น
2. เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สำคัญ
3. เป็นศูนย์รวมความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมเมืองมีลักษณะเป็นทุติยภูมิ
5. มีรายได้รายจ่ายสูง เศรษฐกิจดีและประกอบอาชีพหลากหลายชนิด
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบท
1. สาเหตุภายใน ได้แก่ การเกิด การตาย การย้ายถิ่น
2. สาเหตุภายนอก ได้แก่ การศึกษา การคมนาคม การสื่อสาร เป็นต้น
ค่านิยมของสังคมไทย ค่านิยมทางสังคม หมายถึง
รูปแบบความคิดที่คนส่วนใหญ่ยึดถือและปฏิบัติร่วมกันเพราะเป็นสิ่งมีคุณค่า
ถูกต้องเหมาะสมและดีงามควรปฏิบัติ
ที่มาของค่านิยมของสังคมไทย
1. รับจากศาสนาพุทธผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์
2. รับจากสังคมดั้งเดิม คือ ระบบศักดินา เช่น การนับถือเจ้านาย
ยศถาบรรดาศักดิ์
3. รับจากระบบสังคมเกษตรกรรม เช่น ความเฉื่อย
ขาดความกระตือรือร้น
4. รับจากความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ โชคลาง